วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552



ประเพณีของไทย
ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ

เป็นประเพณีประจำเมืองนครศรีธรรมราชอีกประเพณีหนึ่ง
ซึ่งจะจัดขึ้นปีละ 2 ครั้งคือในวันมาฆบูชาและวันวิสาขบูชา
โดยชาวนครศรีธรรมราช จะร่วมแรงร่วมใจกันบริจาคทรัพย์สินเงินทองตามกำลัง
ศรัทธา แล้วรวบรวมเงินจำนวนนั้นไปซื้อผ้าเป็นชิ้นๆ ซึ่งมักจะเป็นสีเหลือง สีขาว หรือสีแดง
แล้วนำมาเย็บต่อกันเข้าเป็นแถบยาว

นับเป็นพันๆ หลา จากนั้นก็จะพากันแห่ผ้าดังกล่าวไปยัง วัดพระมหาธาตุมหาวิหาร โดยแห่ทักษิณาวรรตรอบองค์ พระธาตุ 3 รอบ แล้วจึงนำเข้าสู่วิหารพระม้าหรือพระ ทรงม้า ซึ่งเป็นพระวิหารที่มีบันไดขึ้นสู่ภายในกำแพงแก้ว ล้อมฐานพระบรมธาตุ เพื่อนำผ้านั้นไปพันโอบรอบฐาน องค์พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของ
พระพุทธเจ้าเป็นการถวายสักการะอย่างหนึ่งประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุหรือพระธาตุเมืองนครศรี ธรรมราชนับเป็นประเพณีที่รวบรวมเอาศรัทธาของพุทธศาสนิกชนมาหล่อหลอมแสดงความเป็น เป็นปึกแผ่นในศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างไม่
เสื่อมคลาย








บุญบั้งไฟ

เป็นประเพณีประจำปีของชาวภาคอีสาน ที่สืบเนื่องมาจากพิธีการขอฝนของพญาแถน หรือเทวดา โดยจัดพิธีจุดบั้งไฟเพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลเพาะปลูกเมื่อหลังเทศกาลสงกรานต์ราวเดือน 6 ของทุกปีหากแต่ชาวยโสธรโดยเฉพาะชาวคุ้มบ้านต่างๆ ในเขตอำเภอเมือง ร่วมแรงร่วมใจทำให้ประเพณีบุญบั้งไฟของเมืองยโสธรเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน และเป็นประเพณีที่สำคัญของประเทศ ตำนานของประเพณีบุญบั้งไฟ ประกอบด้วยนิทานปรัมปรา 2 เรื่อง คือ เรื่องท้าว
ผาแดงและนางไอ่และนิทานเรื่องพญาแถนและพญาคันคาก (คางคก) เรื่องพญาแถนนั้น
กล่าวว่า ครั้งหนึ่งพระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นคางคก อาศัยอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ครั้งนั้นพญาแถน
เทพผู้เป็นใหญ่ที่สุดในท้องฟ้า ผู้ดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เกิดพิโรธทำสงครามกับ
ชาวโลกและบันดาลให้ฝนไม่ตกเลย 7 ปี 7 เดือน ชาวโลกได้รับความเดือดร้อนส่งใครไปรบก็
พ่ายแพ้กลับมากลับมาหมดชาวโลกพากันหนีพญาแถนมาที่ใต้ต้นไม้ใหญ่ที่พญาคางคกอาศัย
อยู่ในที่สุดพญาคางคกได้รวมพลังสัตว์โลก ไปรบกับพญาแถน ปลวกได้ก่อจอมปลวกขึ้นไปถึง
สวรรค์ มอดไม้ไปเจาะด้ามอาวุธทหารพญาแถน แมลงป่อง ตะขาบ มดไปกัดไพร่พลพญาแถน
ในที่สุดพญาแถนก็พ่ายแพ้ถูกจับตัวได้ ขอทำสัญญาสงบศึก โดยมีข้อตกลงว่าหากวันใดที่ชาว
โลกยิงบั้งไฟขึ้นไปบนท้องฟ้าจะบันดาลให้ฝนตกลงมาเป็นฤดูฝน หากได้ยินกบเขียดร้องก็จะ
ทราบได้ว่า ฝนตกแล้ว หากชาวโลกเล่นว่าวเมื่อใดก็จะให้ฝนหยุดตกกลายเป็นฤดูหนาว ดังนั้น
สมัยต่อ ๆ มาเมื่อถึงเดือนหกเข้าฤดูทำนา ประชาชนจะจุดบั้งไฟสื่อสารให้พญาแถนทราบว่าถึง
เวลาที่จะบันดาลฝนให้ชาวบ้าน และจะได้เริ่มต้นฤดูการทำนากันได้



"บั้ง" แปลว่า "ไม้กระบอก" บั้งไฟเป็นดอกไม้เพลิง ทำจากกระบอกไม้ไผ่ที่อัดดินปืนเพื่อการจุดระเบิดให้พุ่งขึ้นไปในอากาศเป็นการบวงสรวงพญาแถนโดยมีขนาดที่นิยมอยู่ 3 ขนาดคือ"บั้งไฟธรรมดา"บรรจุดินปืนไม่เกิน 12 กิโลกรัม"บั้งไฟหมื่น"บรรจุดินปืนเกิน 12 กิโลกรัม"บั้งไฟแสน"บรรจุดินปืนถึงขนาด120 กิโลกรัมถ้าบั้งไฟขึ้นสูงก็แปลว่าฝนฟ้า ข้าวปลา อาหารจะอุดมสมบูรณ์ดีก็จะพากันเลี้ยงฉลองรื่นเริงกันในหมู่ผู้ที่ไม่ร่วมงาน ถ้าบั้งไฟแตกหรือไม่ขึ้นก็หมายความว่าฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลเป็นต้นในวันแรกของเทศกาลหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "วันโฮม" จะมีการนำเอาบั้งไฟออกมาแห่แหน
ตามเมืองกันก่อน จนกระทั่งวันที่ 2 ถึงจะนำบั้งไฟไปจุดกันกลางทุ่งนา โดยเฉพาะที่จุดบั้งไฟ
ต้องทำเป็นพะองพาดขึ้นไปบนต้นไม้ใหญ่สูงประมาณ 30 เมตร แล้วจุดชนวนให้ดินปืนเกิด
การระเบิด ปัจจุบันได้มีการประกวดความสวยงามและความสูงของบั้งไฟที่จุดขึ้นไปบนท้องฟ้า
และหากบั้งไฟอันไหนไม่ยอมพุ่งขึ้นเพราะดินปืนด้านเจ้าของบั้งไฟก็จะถูกจับโยนลงในโคลนตม
กลางทุ่งนาเป็นการทำโทษ ประเพณีการเล่นบั้งไฟที่นิยมกันมากเวลานี้คือยโสธร



พิธีแรกนาขวัญ

หรือ"พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ" เป็นพระราช
ประเพณีสำคัญ ที่ทำเพื่อเสริมสร้างให้เกิดขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกรของชาติ "จรด
พระนังคัล" แปลว่า จดไถหรือแรกไถ เป็นประเพณี โบราณที่พระเจ้าแผ่นดินทรงทำพิธี
ไถนาเองส่วนพระมเหสีเลี้ยงไหม เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน
พระราชพิธีแรกนาขวัญ หรือที่เรียกกันว่า "พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัล
แรกนาขวัญ" พระราช พิธีสองพิธีต่อเนื่องกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคลเป็นพิธีสงฆ์ ประกอบ
พิธีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตตนศาสดาราม ส่วนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญซึ่ง
เป็นพิธีพราหมณ์ มาเริ่มพิธีสงฆ์ในสมัยรัชกาลที่ 4
ความหมายของพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญก็เพื่อต้องการให้พืช
พันธุ์ธัญญาหารในพระราชอาณาจักรอุดมสมบูรณ์ตลอดฤดูกาลที่ทำการเพาะปลูกในสมัยสุโขทัย
นั้นพระมหากษัตริย์จะเสด็จเป็นองค์ ประธานในพระราชพิธีทุกครั้ง ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระมหากษัตริย์ทรงกระทำเหมือนสมัยสุโขทัย แต่จะมอบอาญาสิทธิ์และทรงจำศีลอย่างเงียบๆ
เป็นเวลา 3 วันพอถึงสมัยรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้น
สำหรับพระราชพิธีในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเป็นประธานในพิธี โดยผู้ที่ทำ
หน้าที่พระยาแรกนาก็คือปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่วนเทพีคู่หาบเงินและทองที่ทำหน้าที่
หาบเมล็ดพันธุ์ข้าวให้พระยาแรกนาหว่านในแปลงนาที่ท้องสนามหลวงจะเป็นข้าราชการหญิงใน
กระทรวงเกษตรนั่นเอง
พิธีอย่างย่อๆ ในการแรกนา จะเริ่มด้วยกระบวนพระยาแรกนาในชุดเครื่องสูงจะทำ
พิธีเสี่ยงผ้านุ่ง ถ้าจับได้ผ้ากว้าง มีคำนายว่าน้ำจะมาก ถ้าจับได้ผ้าผืนกลางก็ทายว่าน้ำพอดีหาก
จับได้ผ้าผืนแคบทายว่าน้ำจะน้อย จากนั้นพราหมณ์จะมอบไถเทียมพระโคคู่ให้พระยาแรกนา
ลงมือไถ โดยเริ่มไถรี 3 รอบ ไถแปร 3 รอบ และไถดะ 3 รอบ ในระหว่างนั้น พระยาแรกนาจะ
หยิบเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทานในหาบที่เทพีคู่หาบเงินและทองนำมาให้หว่าน แล้วไถกลบอีก 1
รอบ จากนั้นพราหมณ์จะให้พระโคเสี่ยงทายด้วยของกิน 7 อย่างมีข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่ว งา
เหล้า น้ำและหญ้า พระโคกินอะไร ก็ทายว่าสิ่งนั้นจะสมบูรณ์
หลังจากเสร็จพิธี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานรางวัลแก่เกษตรกรและ
กลุ่มเกษตรกรดีเด่นที่ชนะการประกวดพันธุ์ข้าวเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ หลังจากเสด็จพระราช
ดำเนินกลับแล้ว ก็จะเปิดโอกาสให้เกษตรกรและประชาชนที่มาร่วมพิธีเข้ามาเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวที่
หว่านไว้เป็นสิริมงคลแก่ตัวเองและอาชีพของตนเองต่อไป
กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏบัติในวันพืชมงคล
๑. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ
๒. จัดนิทรรศการ แสดงประวัติความเป็นมา และความสำคัญของวัชพืชมงคลรวมทั้ง
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
ประเพณี "ฮีตสิบสอง คองสิบสี่"
เป็นประเพณีงานบุญท้องถิ่นของชาวจังหวัดเลย
คำว่า "ฮีตสิบสอง"หมายถึง งานประเพณีสิบสองเดือน เช่น งานบุญเดือนอ้าย คืองานบุญเข้า
กรรม, เดือนยี่ คืองานบุญคูณลาน, เดือนสาม คืองานบุญข้าวจี่, เดือนสี่ คือ งานบุญพระเวส
(หรือผะเหวด), เดือนห้า คืองานบุญสงกรานต์, เดือนหก คืองานบุญบั้งไฟ, เดือนเจ็ด คืองาน
บุญข้าวประดับดิน, เดือนแปด คืองานบุญเข้าพรรษา, เดือนเก้า คืองานบุญข้าวประดับดิน,
เดือนสิบ คืองานบุญข้าวสาก หรือบุญสลากภัต และเดือนสิบสอง คืองานบุญกฐินส่วน "คอง
สิบสี่" หมายถึงหลักทำนองคลองธรรมที่คนในสังคมพึงปฏิบัติต่อกันเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่าง
สงบสุข เช่น หลักที่เจ้านายผู้ปกครองพึงปฏิบัติต่อราษฎร, หลักปฏิบัติของคนในครอบครัว,
หลักปฏิบัติของพระสงฆ์องค์เจ้า เป็นต้น
งานประเพณีเทศกาลตามฮีตสิบสองนี้ เป็นงานบุญที่ถือปฏิบัติกันทั่วไปในภาค
อีสานแต่ละท้องถิ่นก็อาจมีรายละเอียดปลีกย่อยหรือพิธีกรรม เฉพาะถิ่นแตกต่างกันออกไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น