วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553


ในสังคมต่าง ๆ ทั่วโลกให้ความสำคัญกับ "ความเป็นแม่" และคำเรียกผู้ที่ให้กำเนิดสมาชิกใหม่ของแต่ละสังคมส่วนใหญ่จะเป็นคำแรกที่เด็กสามารถเปล่งเสียงได้ก่อน "แม่" ดังนั้นความหมายของคำว่า "แม่" ทุกภาษาและวัฒนธรรมจะมีคุณค่าอย่างมาก และหากสังเกตจะพบว่า "แม่" เป็นเสียงที่เด็กสามารถเปล่งได้อย่างง่าย และเป็นคำแรกที่สามารถออกเสียงนั้นได้อย่างมีความหมาย

นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า "แม่" ของทุก ๆ ภาษา มาจากการออกเสียงของเด็ก โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่ (Bilabial) ได้แก่ ม , พ , ป ,บ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพยัญชนะชุดแรกที่เด็กสามารถทำเสียงได้ โดยการใช้ริมฝีปากบนและล่าง ดังเช่น

ภาษาไทย เรียก แม่
ภาษาจีน เรียก ม๊ะ หรือ ม่า
ภาษาฝรั่งเศส เรียก la mere (ลา แมร์)
ภาษาอังกฤษ เรียก mom , mam

ภาษาโซ่ เรียก ม๋เปะ

ภาษามุสลิม เรียก มะ

ภาษาไท เรียก ใต้คง เม เป็นต้น


"แม่" เป็นคำโดดหรือคำไทยที่บ่งบอกความสัมพันธ์อันอบอุ่นลึกซึ้งระหว่างผู้หญิงกับลูก แม่ หมายถึง ผู้มีพระคุณ ผู้ให้กำเนิด ให้น้ำนมลูกดื่มกิน ให้ความรักความเมตตาและปกป้องดูแลลูกจนเติบใหญ่ คำว่า "แม่" มักถูกนำไปใช้ร่วมกับคำอื่น ๆ โดยมีความหมายแตกต่างกันออกไป พอจะแบ่งแยกออกได้เป็นประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. แม่ ในฐานะเป็นคำที่ใช้แบ่งแยกเพศและบ่งบอกบทบาท ฐานะ สถานภาพและอากัปกิริยาของผู้หญิง เช่น แม่… (น.) : คำเรียกหญิงทั่วไป เช่น แม่นั่น แม่นี่ ; แม่ค้า (น.) : ผู้หญิงที่ดำเนินการค้าขาย ; แม่ครัว (น.) : หญิงผู้ดูแลครัว หุงหาอาหาร ; แม่คู่ (น.) : นักสวดผู้ขึ้นต้นบท ; แม่นม (น.) : หญิงผู้ให้นมเด็กกินแทนแม่ ; แม่บ้านแม่เรือน (น.) : หญิงดูแลบ้านเรือน ; แม่แปรก (น.) : หญิงผู้จัดจ้านหรือเป็นหัวหน้ากลุ่ม ; แม่มด (น.) : หญิงหมอผี หญิงคนทรง หญิงเข้าผี ; แม่ยาย (น.) : คำเรียกแม่ของเมีย ; แม่ม่าย (น.) : หญิงที่มีผัวแล้วแต่ผัวตายหรือเลิกร้างกันไป ; แม่ยั่วเมือง (น.) : คำเรียกพระสนมเอกแต่โบราณ ; แม่ย้าว (น.) : หญิงผู้เป็นแม่เรือน ; แม่รีแม่แรด (ว.) : ทำเจ้าหน้าเจ้าตา ; แม่แรง (น.) : หญิงผู้เป็นกำลังสำคัญในการงาน, เครื่องดีดงัดหรือยกของหนัก ; แม่เลี้ยง (น.) : เมียของพ่อที่ไม่ใช่แม่ตัว, หญิงที่เลี้ยงลูกบุญธรรม ; แม่เล้า (น.) : หญิงผู้กำกับควบคุมดูแลซ่องโสเภณี ; แม่สื่อแม่ชัก (น.) : ผู้พูดชักนำให้หญิงกับชายรักกัน ; แม่อยู่หัว (น.) : คำเรียกพระมเหสี เป็นต้น

2. แม่ เป็นคำที่ใช้บ่งบอกฐานะของผู้ปกป้องคุ้มครอง เช่น แม่ย่านาง (น.) : ผีผู้หญิงผู้รักษาเรือ นางไม้ ; แม่ซื้อ, แม่วี (น.) : เทวดาหรือผีที่คอยดูแลทารก เป็นต้น

3. คำว่า แม่ ยังถูกนำมาใช้เรียกผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนาย บ่งบอกฐานะของผู้มีอำนาจในการกำกับดูแลและควบคุม เช่น แม่กอง แม่ทัพ เป็นต้น



อย่างไรก็ตาม ความหมายหลักของคำว่า แม่ ก็คงหนีไม่พ้นการเป็นผู้ให้ชีวิตหรือหญิงผู้ให้กำเนิดบุตร หญิงผู้ปกป้องคุ้มครองและดูแลรักษา สังคมไทยยังใช้คำว่าแม่ตามความหมายนี้เรียกสิ่งดีงามตามธรรมชาติอื่น ๆ เพื่อยกย่องเทอดทูนในฐานะผู้ให้กำเนิดและหล่อเลี้ยงชีวิต เช่น แม่น้ำ แม่โพสพ แม่ธรณี เป็นต้น ความหมายของคำว่าแม่ในลักษณะเช่นนี้แสดงให้เห็นชัดอย่างชัดเจนว่าสังคมไทยแต่โบราณมายกย่องและให้เกียรติสตรีเพศผู้เป็นแม่ ตระหนักในบทบาทหน้าที่และบุญคุณของแม่ต่อชีวิตของลูก ๆ ตลอดมาทุกยุคทุกสมัย

ในบริบทของสังคมวัฒนธรรมไทย แม่ คือ ผู้เสียสละความสุขส่วนตนเพื่อลูก ๆ คอยดูแลเอาใจใส่และประคบประหงมลูกจนเติบใหญ่ ความรักของแม่ถือว่าเป็นความรักที่บริสุทธิ์ สังคมไทยมักพูดถึงแม่ในฐานะของผู้ที่รักลูกยิ่งชีวิต พร้อมจะตกระกำลำบากเพื่อลูกของตนโดยไม่สำนึกเสียใจ นางจันทร์เทวีถูกขับออกจากเมือง ต้องระเหเร่ร่อนไร้ที่ซุกหัวนอนเพราะคลอดลูกเป็นหอยสังข์ แต่นางก็ยังรักและเฝ้าทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงโดยไม่เคยคิดรังเกียจเดียดฉันท์แม้แต่สัตว์อย่างนางนิลากาสร ก็ยังรักและหวงแหนลูกอย่างทรพี ปกป้องลูกของตนมิให้ถูกฆ่าดังเช่นลูกของตัวอื่น ๆ

แม้ว้าโดยทั่วไปแล้ว คำว่า "แม่" จะบ่งบอกความหมายของการเสียสละ ความรักและความผูกพันที่ผู้หญิงที่มีต่อลูกของตน แต่การที่สังคมไทยมีลักษณะวัฒนธรรมเฉพาะที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละชนชั้น ทำให้ความหมายของการเป็นแม่ ตลอดจนบรรทัดฐาน แบบแผน พฤติกรรมและบทบาทฐานะของผู้หญิงในวัฒนธรรมของแต่ละชนชั้นย่อมแตกต่างกันไป

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

นำเที่ยวพิพิธภัณฑ์วังวรดิศ และหอสมุดดำรงราชานุภาพ

วังวรดิศ เป็นที่ประทับของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ผู้ซึ่งถือได้ว่า

เป็นพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย และเป็นเสนาบดีพระองค์แรกของกระทรวง

มหาดไทย พระองค์ได้รับการยกย่องจากองค์การ Unesco ให้เป็นบุคคล

สำคัญของโลก

คณะ เข้าเยียมชม วังวรดิศ

เช้าวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ กระผมได้รับความเมตตาจาก หม่อมหลวง

ปนัดดา ดิศกุล ทายาท ของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพให้เข้าเยียมชม

พิพิธภัณฑ์วังวรดิศ พระตำหนักใหญ่ สถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าที่ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ที่ท่านเป็นผู้สืบเชื้อสายจากพระนัดดา หรือหลานชายใหญ่ ม.ร.ว.

สังขดิศ ดิศกุล อดีตเอกอัครราชทูตหลายประเทศ

ท่าน ม.ล. ปนัดดา ดิศกุล เป็นเหลน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา

ดำรงราชานุภาพ(พระองค์เป็นพระโอรส พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ได้รับพระพินัยกรรม ท่านระลึกอยู่เสมอว่า ทรัพย์สินเหล่านี้

เป็นมรดกล้ำค่าทางประวัติศาสตร์ของแผ่นดิน

หม่อมเจ้าจุลดิส ดิศกุล ท่านปู่ของท่านได้สั่งสอน ให้สำนึกในพระคุณของแผ่น

ดิน และทดแทนคุณแผ่นดิน ให้รักษาไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรม

ถ่ายจากชั้น ที่สอง ตึกแถวที่มองเห็นนั้น คือ ถนนหลานหลวงครับ จะเห็นว่าวังกว้างขวางครับ

วังวรดิศถ่ายจากอีกมุม

ท่านเป็นเหลน สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ท่านรับราชการอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย

ช่วงเช้าท่าน หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ติดภารกิจ จึงมอบหมายให้ ภรรยาของ

ท่านตอ้นรับผู้มาเยื่อน

ภาพถ่ายจากด้านหลัง

จากการบรรยายของอาจารย์เพชรสมร เพ็ญเพียร ทราบว่า ฝรั่งชาวต่างประเทศ

แกะสลักหิน รูปสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เจ้านายคัดค้านกันมากไม่ให้

แกะ เพราะ พระองค์ท่านยังไม่สวรรคต

ห้องพระยังถูกจัดไว้อย่างเดิม เหมื่อนครั้งท่านยังมีพระชนมชีพ

ภาพพระบรมธาตุเมืองนครใส่กรอบแขวนไว้

ภาพพระธิดาของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

หม่อมเจ้าพูนพิศสมัย ดิศกุล กระผมกราบขออภัยด้วยที่ทำสิ่งใดไม่ถูกต้องครับ

โต๊ะประดับมุก

ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ จากจังหวัดสิงห์บุรี ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

นั่งอยู่ที่พระเก้าอี้นี้ กับสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ได้มีนายทหารเข้ามาเชิญไปพร้อมทั้งสองพระอง๕พระอง๕พระองค์

ห้องแสดงสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ ท่านอาจารย์ เพชรสมร เพ็ญเพียร บรรยายให้ฟังว่า วันที่เปลี่ยนแปลง

การปกครอง ปี ๒๔๗๕ สมเด็จฯนั่งประทับที่เก้าอี้ นี้ พร้อมกับเจ้านายอีกองค์ ไม่นานมีนายทหาร เข้ามาเชิญหรือค

ควบคุมท่าน ทั้งสองไป พระที่นั่งอนันตสมาคม จากที่ผมเคยอ่านพระราชหัตเลขา ที่มีไปมาถึงหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์

หัวหน้ากองโบราณคดี เมื่อคราวท่านประทับอยุ่ที่ปีนัง หลังปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ทำให้ทราบว่าพระทัยของท่านเจ็บปวดมาก

กอปรกับผมเคยอ่านรายงาน กรมไปรษณีย์โทรเลข เกี้ยวกับโทรเลขต่างๆที่เกี้ยวข้องกับการยึดอำนาจสมัยนั้น

สมเด็จฯท่านอดทนอดกลั่นมากที่สุด นี้มัน เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ แต่วิกฤตกาลการเมือง ในยุคคนโลภ คนที่เต็มไปด้วยกิเลศ

ด้วยกิเลศ น่าเป็นห่วงมากกว่า บางคนใส่ริชแบรนด์สีเหลือง เพื่อพระเจ้าอยู่หัว แต่จิตใจเข้ายังไม่เข้าใจสถาบัน

หลักของประเทศ ว่าถูกพวกชั่วร้ายบ่อนทำลาย

ของอำนาจพระสยามเทวาธิราชจงอภิบาลคุ้มครองประเทศไทยด้วยเถิด ดังที่ หม่อมเจ้าหญิงฯเคยพระนิพนธ์

เรื่องการสร้างพระสยามเทวาธิราช ว่าประเทศนี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ช่วยปกป้องบ้านเมืองรอดพ้นวิกฤตต่างๆมาได้ตลอด

ภาพพระอนุสาวรีย์หน้ากระทรวงมหาดไทย ผมถ่ายเมื่อ เวลา ๑๖.๑๐ น วันเดี่ยวกัน กับไปเยี่ยมชมวัง

ปรัชญา ของท่าน บำบัดทุกข์บำรุงสุข และมีคุณธรรม จริยธรรม

หอสมุดดำรงราชานุภาพจัดแบ่งภายในเป็น ๓ ชั้น

ชั้นที่ ๑ จัดเก็บตู้หนังสือส่วนพระองค์

ชั้นที่ ๒ จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์

ชั้นที่ ๓ เป็นห้องแสดงพระบรมฉายาลักษณ์

ตู้หนังสือนี้ผมถ่ายมาจากวังวรดิศ ครับพระองค์ท่านไม่ได้เสด็จไปศึกษาต่าง

ประเทศ แต่พระองค์ มีพระปรีชาสามารถ สื่อสารภาษาอังกฤษมาก ท่านเขียนเล่าไว้ในบันทึกความทรงจำ เล่าเรื่องการเรียน ภาษาอังกฤษ ว่าท่าน เจ้าฟ้าภาณุรังษี

สว่างวงศ์ และกรมหลวงเทววงศ์ฯเป็นที่โปรดปราณของครูแปตเตอร์สันมาก

ไฟล์:หม่อมหลวงปนัดดา.jpg

หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล (26 สิงหาคม พ.ศ. 2499 -) ชื่อเล่น "เหลน" เป็นบุตรชายคนเดียวของ พลตรีหม่อมราชวงศ์สังขดิศ ดิศกุล อดีตเสรีไทยในสงครามโลกครั้งที่ 2 และอดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำหลายประเทศ กับคุณมัณฑนา ดิศกุล ณ อยุธยา และเป็นปนัดดา (เหลน) ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เกิดที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันสมรสกับคุณอัมพร ดิศกุล ณ อยุธยา และมีบุตรชายคนเดียว คือ นายวรดิศ ดิศกุล ณ อยุธยา
การศึกษา

ในระดับประถม(รุ่นที่ 10)และมัธยมที่โรงเรียนสาธิตประสานมิตร จากนั้นจึงติดตามครอบครัวไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ณ โรงเรียนเตรียมทหารคิงส์ ออสเตรเลีย โดยสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ และปริญญาโททางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จาก Brigham Young Universityสหรัฐอเมริกา และได้เข้าศึกษาหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์ไทย-ญี่ปุ่น เปรียบเทียบ ณ Sophia University ประเทศญี่ปุ่น

ม.ล.ปนัดดา ผ่านการศึกษาหลักสูตร"นักปกครองชั้นสูง " จากวิทยาลัยมหาดไทย และหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 2550

รางวัลดีเด่น

ม.ล.ปนัดดา ได้รับรางวัลดีเด่นหลายรางวัล อาทิ

  • ได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้เป็น “ ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ” ของกระทรวงมหาดไทย ประจำปี พ.ศ. 2532 โดยสอบเลื่อนระดับ 6 ได้เป็นอันดับที่ 1 ของกระทรวงมหาดไทยในปีนั้น
  • ได้รับรางวัล “ศิษย์เก่าดีเด่น” ประจำปี พ.ศ. 2549 จากโรงเรียนสาธิตศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)
  • ได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้เป็น “ศิษย์เก่าดีเด่น เนื่องในวัน ศาสตราจารย์ ดร. สาโรช บัวศรี” ประจำปี พ.ศ. 2549
  • ได้รับรางวัล “คนดี ศรีสยาม” ประจำปี พ.ศ. 2549 จากสหพันธ์รวมใจไทยทั้งชาติ
  • ได้รับการคัดเลือกให้เป็น “ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี” ประจำปี พ.ศ. 2549
  • ได้รับการคัดเลือกให้เป็น “พ่อตัวอย่างแห่งชาติ” ประจำปี พ.ศ. 2550
  • ตำแหน่งหน้าืที่ปัจจุบัน
  • ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม กรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ประธานพิพิธภัณฑ์และหอสมุดสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญติดตามการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา และเป็นอาจารย์พิเศษ ณ สถาบันการศึกษาหลายแห่ง

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โจฮันเนส เคพเลอร์ (Johannes Kepler) นักวิทยาศาสตร์ สาขาดาราศาสตร์

เคพเลอร์เป็นนักดาราศาสตร์ที่มีผลงานดีเด่นท่านหนึ่ง เขาเป็นนักดาราศาสตร์ที่พบว่าการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ไม่ได้เป็นวงกลม ตามที่นิโคลัส โคเปอร์นิคัส เข้าใจ แต่เขาพบว่าการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์เป็นไปในลักษณะวงรี ซึ่งเป็นผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขามากที่สุด และสร้างประโยชน์อย่างมหาศาลให้กับวงการดาราศาสตร์ในยุคนั้น และส่งผลต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้

ในปี ค.ศ. 1593

หลังจากจบการศึกษาเขาได้เข้าทำงานในตำแหน่งศาสตราจารย์ สอนวิชาคณิตศาสตร์และดาราคพเลอร์เกิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1571 ที่เมืองวีล ประเทศเยอรมนี ครอบครัวของเคพเลอร์ค่อนข้างยากจน บิดาของเขาเป็นทหารและมีนิสัยชอบดื่มสุรา ทำให้เกิดทะเลาะวิวาทกับมารดาของเขาเสมอ และไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่เคพเลอร์ ทำให้เขาล้มป่วยด้วยไข้ทรพิษ แม้ว่าเขาจะรอดชีวิตมาได้แต่ต้องพิการแขนข้างหนึ่ง และสายตาก็ไม่ค่อยดีเท่าไร ถึงแม้ว่าฐานะของครอบครัวจะยากจน แต่ด้วยความที่เคพเลอร์เป็นคนขวนขวายที่จะศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ เขาได้สมัครเข้าทำงานเป็นเด็กรับใช้ของนักบวชเพื่อแลกกับการเข้าเรียนในโรงเรียนภายในโบสถ์แห่งนั้น เคพเลอร์เป็นเด็กที่มีความขยันขันแข็ง เขาใช้เวลาส่วนใหญ่กับการอ่านหนังสือ และหาความรู้เพิ่มเติมทำให้เขาสามารถสอบไล่ได้ที่ 1 เป็นประจำทุกปี อีกทั้งเขายังได้รับทุนการศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยทูบินเกน (Tubingen University) เคพเลอร์ได้เข้าศึกษาในวิชาดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ตามคำแนะนำของศาสตราจารย์มิคาเอล มัสท์ลิน (Michael Mastlin) นักดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ ซึ่งเคพเลอร์ก็สามารถเรียนได้เป็นอย่างดี เคพเลอร์จบการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยทูบินศาสตร์ ประจำมหาวิทยาลัยกราซ (Graz University) ที่ประเทศออสเตรีย (Austria) ในระหว่างนี้เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับดาราศาสตร์หลายเรื่อง ได้แก่ ลักษณะการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ สาเหตุของการโคจร ระยะเวลาการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์แต่ละดวงว่าทำไมถึงแตกต่างกัน และทำไมถึงมีดาวเคราะห์ 6 ดวง อีกทั้งสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ ซึ่งในขณะนั้น ยังไม่มีนักดาราศาสตร์ผู้ใดสรุปเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ได้เลย เพราะพวกเขาก็ไม่พบคำตอบ เคพเลอร์ทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยกราซได้เพียง 7 ปี เท่านั้น เขาก็ลาออก

เนื่องจากได้รับการติดต่อจากทิโค บราห์ (Tycho Brahe) นักดาราศาสตร์ชาวเดนมาร์ก ได้เชิญเคพเลอร์ไปสนทนาเกี่ยวกับเรื่องดาราศาสตร์ ซึ่งเคพเลอร์เห็นว่าเป็นโอกาสที่ดี อีกทั้งหอดูดาวเบนาทคี (Benatky) มีอุปกรณ์ที่ทันสมัยมากเหมาะ สำหรับการค้นคว้าทางดาราศาสตร์ แต่เมื่อเคพเลอร์เดินทางไปถึงกรุงปราค เขาได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้ารูดอล์ฟที่ 2 (King Rudolph II) ให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยของทิโค บราห์ นักดาราศาสตร์ชาวเดนมาร์ก (ค.ศ. 1546 - 1601) ที่หอดูดาวเบนาทคีที่กรุงปราค หลังจากนั้นอีก 1 ปี บราห์ก็เสียชีวิต พระเจ้ารูดอล์ฟที่ 2 ให้ เคพเลอร์ ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติงานต่อจากที่บาร์ห์ทำไว้ งานชิ้นสำคัญที่บารห์ทิ้งไว้ และยังไม่สำเร็จ คือ รูดอล์ฟที่ 2 ผู้ให้การสนับสนุน บารห์ได้ทำบันทึกบอกตำแหน่งของดวงดาวต่าง ๆ ที่ไม่เคลื่อนที่ไว้ถึง 777 ดวง ต่อมาเคพเลอร์ได้ติดตาม และเฝ้าดูดวงดาวเหล่านี้ และได้พบดวงดาวเพิ่มอีก 228 ดวง รวมเป็น 1,005 ดวง บัญชีตารางดาวรูดอล์ฟเฟียนเป็นบัญชีตารางดาวที่สมบูรณ์แบบและถูกต้องมากที่สุด ซึ่งเคพเลอร์ใช้เวลาในการในการค้นคว้านานถึง 27 ปี บัญชีตารางดาวรูดอล์ฟเฟียนมีประโยชน์อย่างมากสำหรับนักเดินเรือ เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีอุปกรณ์ ที่ช่วยในการเดินเรือที่ทันสมัยอย่างเช่นในปัจจุบัน ดังนั้นจึงต้องสังเกตการณ์จากดวงดาวบนท้องฟ้าเป็นสำคัญ

Johannes Kepler: Tabulae Rudolphina, 1627

แต่ในระหว่างที่เคพเลอร์ทำบันทึกตารางดาวอยู่นี้ เขาได้ศึกษาทฤษฎีดาราศาสตร์หลายเรื่อง ได้แก่ การโคจรของดาวเคราะห์ ซึ่งตามทฤษฎีของนิโคลัส โคเปอร์นิคัส กล่าวว่า "เทหวัตถุบนฟากฟ้าใด ๆ โคจรในลักษณะวงกลมเสมอ" จากการเฝ้าติดตามดูดวงดาว บนฟากฟ้าเป็นเวลานานประกอบกับอุปกรณ์อันทันสมัย เคพเลอร์พบว่าดาวเคราะห์ไม่ได้โคจรเป็นวงกลมแต่โคจรเป็นวงรี อีกทั้งระยะเวลาในการหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์ยังมีความเร็วต่างกันอีกด้วย คือ ในขณะที่ดาวเคราะห์โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์จะหมุนรอบตัวเองช้าลง ทำให้การเคลื่อนที่ช้าลงตามไปด้วย แต่ถ้ายิ่งอยู่ห่างดวงอาทิตย์มากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะยิ่งหมุนเร็วมากขึ้น ปรากฏการณ์เช่นนี้สามารถสังเกตได้จากฤดูกาลบนโลก คือ ในฤดูหนาวมีระยะเวลากลางวันสั้นกว่าในฤดูร้อนจากผลงานการค้นพบครั้งนี้ในปี ค.ศ. 1609 เคพเลอร์ได้ตีพิมพ์ผลงานออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า Astronomia Nova หรือการค้นพบครั้งใหม่ทางดาราศาสตร์ ภายในหนังสือเล่มนี้เคพเลอร์ได้อธิบายเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์คือ การโคจรเป็นวงรีของ ดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ (Law of Elliptic Orbits)

ในปี ค.ศ. 1619 เคพเลอร์ได้ตีพิมพ์หนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า Harmonices Mundi (Harmonics of the World) หรือ ความกลมกลืนของจักรวาล ภายในหนังสือเล่มนี้มีรายละเอียดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางและระยะเวลาในการ หมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์ เคพเลอร์ได้นำมาตั้งเป็นกฎชื่อว่า Law of Planetary Motion

เคพเลอร์ทำงานอยู่ที่หอดูดาวเบนาทคีจนกระทั่งพระเจ้ารูดอล์ฟที่ 2 สิ้นพระชนม์ ในปี ค.ศ. 1612 เคพเลอร์จึงลาออก แต่ก็ยังศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับดาราศาสตร์จนกระทั่งเสียชีวิตในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1630

ติดส่ง SMS ทำลายกระดูกและเส้นเอ็น

โทรศัพท์



ติดส่ง SMS ทำลายกระดูกและเส้นเอ็น (Lisa)

นักวิจัยชาวอเมริกัน ศ.เชอร์รี่ เทอร์เคลิ (Sheny Turkle) ได้วิจัยพฤติกรรมการส่ง SMS ของวัยรุ่นเป็นเวลา 3 ปี พบว่าวัยรุ่นบางคนส่ง SMS เป็นร้อยครั้งทุกวัน หรือบางคนเข้านอนดึกเพราะต้องตอบ SMS

ซึ่งนักวิจัยเห็นว่า วัยรุ่นกลุ่มนี้ติดการส่ง SMS ทั้งนี้ แพทย์จากมหาวิทยาลัยวอชิงตันได้เตือนว่าการติด SMS จะทำให้นอนไม่หลับ หวาดกลัว และขาดสมาธิ มีผลกระทบกับการเรียน มีปัญหากับกระดูกและเส้นเอ็นอักเสบเพราะใช้มือและนิ้วมากเกินไป คล้ายกับผู้ที่ต้องพิมพ์คอมพิวเตอร์ ทั้งวัน

แต่ปัญหานี้ยังไม่ค่อยมีการวิจัยมากนัก กระนั้นก็ตาม นักวิชาการได้กล่าวเตือนว่าการติดส่ง SMS จะมีผลกระทบต่อร่างกายและสมอง จึงควรเพลาๆ ลงบ้างและหากิจกรรมอื่นทำ เช่น เล่นกีฬา