วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

นำเที่ยวพิพิธภัณฑ์วังวรดิศ และหอสมุดดำรงราชานุภาพ

วังวรดิศ เป็นที่ประทับของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ผู้ซึ่งถือได้ว่า

เป็นพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย และเป็นเสนาบดีพระองค์แรกของกระทรวง

มหาดไทย พระองค์ได้รับการยกย่องจากองค์การ Unesco ให้เป็นบุคคล

สำคัญของโลก

คณะ เข้าเยียมชม วังวรดิศ

เช้าวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ กระผมได้รับความเมตตาจาก หม่อมหลวง

ปนัดดา ดิศกุล ทายาท ของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพให้เข้าเยียมชม

พิพิธภัณฑ์วังวรดิศ พระตำหนักใหญ่ สถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าที่ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ที่ท่านเป็นผู้สืบเชื้อสายจากพระนัดดา หรือหลานชายใหญ่ ม.ร.ว.

สังขดิศ ดิศกุล อดีตเอกอัครราชทูตหลายประเทศ

ท่าน ม.ล. ปนัดดา ดิศกุล เป็นเหลน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา

ดำรงราชานุภาพ(พระองค์เป็นพระโอรส พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ได้รับพระพินัยกรรม ท่านระลึกอยู่เสมอว่า ทรัพย์สินเหล่านี้

เป็นมรดกล้ำค่าทางประวัติศาสตร์ของแผ่นดิน

หม่อมเจ้าจุลดิส ดิศกุล ท่านปู่ของท่านได้สั่งสอน ให้สำนึกในพระคุณของแผ่น

ดิน และทดแทนคุณแผ่นดิน ให้รักษาไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรม

ถ่ายจากชั้น ที่สอง ตึกแถวที่มองเห็นนั้น คือ ถนนหลานหลวงครับ จะเห็นว่าวังกว้างขวางครับ

วังวรดิศถ่ายจากอีกมุม

ท่านเป็นเหลน สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ท่านรับราชการอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย

ช่วงเช้าท่าน หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ติดภารกิจ จึงมอบหมายให้ ภรรยาของ

ท่านตอ้นรับผู้มาเยื่อน

ภาพถ่ายจากด้านหลัง

จากการบรรยายของอาจารย์เพชรสมร เพ็ญเพียร ทราบว่า ฝรั่งชาวต่างประเทศ

แกะสลักหิน รูปสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เจ้านายคัดค้านกันมากไม่ให้

แกะ เพราะ พระองค์ท่านยังไม่สวรรคต

ห้องพระยังถูกจัดไว้อย่างเดิม เหมื่อนครั้งท่านยังมีพระชนมชีพ

ภาพพระบรมธาตุเมืองนครใส่กรอบแขวนไว้

ภาพพระธิดาของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

หม่อมเจ้าพูนพิศสมัย ดิศกุล กระผมกราบขออภัยด้วยที่ทำสิ่งใดไม่ถูกต้องครับ

โต๊ะประดับมุก

ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ จากจังหวัดสิงห์บุรี ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

นั่งอยู่ที่พระเก้าอี้นี้ กับสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ได้มีนายทหารเข้ามาเชิญไปพร้อมทั้งสองพระอง๕พระอง๕พระองค์

ห้องแสดงสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ ท่านอาจารย์ เพชรสมร เพ็ญเพียร บรรยายให้ฟังว่า วันที่เปลี่ยนแปลง

การปกครอง ปี ๒๔๗๕ สมเด็จฯนั่งประทับที่เก้าอี้ นี้ พร้อมกับเจ้านายอีกองค์ ไม่นานมีนายทหาร เข้ามาเชิญหรือค

ควบคุมท่าน ทั้งสองไป พระที่นั่งอนันตสมาคม จากที่ผมเคยอ่านพระราชหัตเลขา ที่มีไปมาถึงหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์

หัวหน้ากองโบราณคดี เมื่อคราวท่านประทับอยุ่ที่ปีนัง หลังปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ทำให้ทราบว่าพระทัยของท่านเจ็บปวดมาก

กอปรกับผมเคยอ่านรายงาน กรมไปรษณีย์โทรเลข เกี้ยวกับโทรเลขต่างๆที่เกี้ยวข้องกับการยึดอำนาจสมัยนั้น

สมเด็จฯท่านอดทนอดกลั่นมากที่สุด นี้มัน เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ แต่วิกฤตกาลการเมือง ในยุคคนโลภ คนที่เต็มไปด้วยกิเลศ

ด้วยกิเลศ น่าเป็นห่วงมากกว่า บางคนใส่ริชแบรนด์สีเหลือง เพื่อพระเจ้าอยู่หัว แต่จิตใจเข้ายังไม่เข้าใจสถาบัน

หลักของประเทศ ว่าถูกพวกชั่วร้ายบ่อนทำลาย

ของอำนาจพระสยามเทวาธิราชจงอภิบาลคุ้มครองประเทศไทยด้วยเถิด ดังที่ หม่อมเจ้าหญิงฯเคยพระนิพนธ์

เรื่องการสร้างพระสยามเทวาธิราช ว่าประเทศนี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ช่วยปกป้องบ้านเมืองรอดพ้นวิกฤตต่างๆมาได้ตลอด

ภาพพระอนุสาวรีย์หน้ากระทรวงมหาดไทย ผมถ่ายเมื่อ เวลา ๑๖.๑๐ น วันเดี่ยวกัน กับไปเยี่ยมชมวัง

ปรัชญา ของท่าน บำบัดทุกข์บำรุงสุข และมีคุณธรรม จริยธรรม

หอสมุดดำรงราชานุภาพจัดแบ่งภายในเป็น ๓ ชั้น

ชั้นที่ ๑ จัดเก็บตู้หนังสือส่วนพระองค์

ชั้นที่ ๒ จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์

ชั้นที่ ๓ เป็นห้องแสดงพระบรมฉายาลักษณ์

ตู้หนังสือนี้ผมถ่ายมาจากวังวรดิศ ครับพระองค์ท่านไม่ได้เสด็จไปศึกษาต่าง

ประเทศ แต่พระองค์ มีพระปรีชาสามารถ สื่อสารภาษาอังกฤษมาก ท่านเขียนเล่าไว้ในบันทึกความทรงจำ เล่าเรื่องการเรียน ภาษาอังกฤษ ว่าท่าน เจ้าฟ้าภาณุรังษี

สว่างวงศ์ และกรมหลวงเทววงศ์ฯเป็นที่โปรดปราณของครูแปตเตอร์สันมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น